วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Generative Design คืออะไร?

Generative Design



ในโลกปัจจุบัน ดีไซเนอร์ หรือ วิศวกร สามารถใส่ข้อมูลความต้องการไม่ว่าจะเป็น ชนิดของวัสดุ วิธีการที่จะใช้ผลิต และงบประมาณที่ต้องการ ลงใน Generative Design Software และให้ software ใช้ระบบ cloud computing เพื่อประมวลผล ชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ ตามข้อกำหนด เพื่อให้เราเลือกกว่า 1,000 รูปแบบ

วิธีเก่า
คนหนึ่งคน + คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว = รูปแบบงานดีไซน์ที่จำกัด

วิธีใหม่
คนหนึ่งคน + ระบบอัจฉริยะ (AI) + cloud computing power = รูปแบบงานดีไซน์กว่า 1000 รูปแบบ


ขั้นตอนการออกแบบโดย Generative Design
  1. ดีไซเนอร์ หรือ วิศวกร ใส่ข้อมูลที่ต้องการในชิ้นงานออกแบบ เช่น ชนิดวัสดุ น้ำหนัก ความแข็งแรง และงบประมาณ
  2. Software ทำการประมวลผล และสร้างรูปแบบที่เป็นไปได้จากโจทย์ที่ใส่ให้กว่า 1,000 แบบ
  3. ดีไซเนอร์ หรือ วิศวกร ทำการคัดเลือกจากรูปแบบทั้งหมด และอาจจะทำการ ปรับข้อมูลที่ต้องการลงไปใน Generative Design software จาก รูปแบบที่เลือก software ทำการปรับและประมวลผลอีกครั้ง จนได้รูปแบบที่พอใจ
  4. ดีไซเนอร์ หรือ วิศวกร ทำการประกอบชิ้นงานตัวอย่าง จากการนำ design ที่ได้จาก software ไปทำการ print ด้วยเครื่อง 3D printing

ข้อดีของ Generative Design
  1. ประหยัดเวลา ในอดีตกว่า ดีไซเนอร์หรือวิศวกร จะออกแบบชิ้นงานสักชิ้น ต้องใช้เวลานาน แต่ปัจจุบัน ด้วย Generative Design สามารถสร้างแบบได้กว่า 1,000 แบบในเวลาไม่นาน
  2. เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ด้วยงานออกแบบกว่า 1,000 แบบ ทำให้เกิดรูปแบบที่แปลกใหม่ ที่ไม่เคยมีนักออกแบบคิดขึ้นมาก่อน
  3. ประหยัดเงิน ด้วย Generative Design เราสามารถใส่ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เราต้องการบนชิ้นงานเราได้ ดังนั้น เมื่อทำการผลิต จึงมั่นใจได้ว่า ชิ้นงานที่ได้ จะมีความแข็งแรง และไม่เกิดความเสียหายในระหว่างการผลิต
  4. ออกแบบรูปทรงที่ไม่เหมือนใคร ด้วย Generative Design และ 3D printing ทำให้เราสร้างสร้างงานออกแบบที่มีรูปทรงที่แปลกใหม่ ที่ยากที่จะขึ้นรูปด้วยวิธีเดิมๆ

ตัวอย่างผลงานที่สร้างสรรค์จาก Generative Design

ผนังกั้นห้องโดยสารของเครื่องบิน A320
ผนังกั้นแบบใหม่ มีความแข็งแรงกว่าแบบเก่า และยังมีน้ำหนักเบากว่าครึ่งอีกด้วย


MX3D
บริษัทหุ่นยนต์นี้เป็นเจ้าแรกที่ใช้ generative design ในการสร้าง สะพาน 
และใช้หุ่นยนต์ 3D printing ในการสร้างสะพานขึ้นมาที่ Amsterdam.


Under Armour
รองเท้าที่ออกแบบโดย Generative Design และ 3D printing technology



 เรียบเรียงโดย : Ungkana Warnett 



Reference: